Sutter’s Mill
เพลงยุค90เพลงสากลเพลงเก่าเพราะๆ

Sutter’s Mill ไม่ได้เป็นแค่เพลงสะท้อนประวัติศาสตร์อินเดียนแดงเพียงอย่างเดียว

บางครั้งเพลงแนวคันทรีมันจะมีความขลังและความเก่าแก่ไปในตัว เปิดฟังได้สบายๆ ถ้าพูดถึงเพลง Sutter’s Mill เพียงแว๊บแรกจะเป็นแค่เพลงคันทรีที่ร้องเอาสนุกๆ ถ้อยคำอักษรร้อยเรียงเป็นเพลงออกมาได้เรียบง่าย ฟังแล้วรู้สึกลื่นหูมากพอสมควร ถ้าหากใครที่ไม่สันทัดภาษาอังกฤษนัก แต่ถ้าตั้งใจฟังเนื้อเพลงดีๆ จะรู้เลยว่าเป็นเพลงที่อิงประวัติศาสตร์อินเดียนแดงในยุคนั้นอย่างมาก และไม่ได้ตีความแค่อินเดียนแดงเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้เขียนมองว่ามันเป็นเพลงที่ควรค่าแก่การร้อง และการฟังเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านร้อยเรียงของเพลงนี้อย่างมาก ในบทความนี้จะขอรีวิวเพลง Sutter’s Mill ว่ามันมีจุดที่น่าสนใจและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งจะขออธิบายผ่านบทความได้ดังนี้

Sutter’s Mill

               เพลงนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อ 1985 และยังเป็นเพลงที่ดังจนถึงยุค 90 โดยผู้ที่ขับร้องเพลงนี้คือ “Dan Fogelberg” ซึ่งได้ล่วงลับไปนานแล้ว ได้ทิ้งเพลงอันแสนอมตะไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกับประวัติศาสตร์ อเมริกา ชัดเจน และได้รู้จักในสิ่งที่ไม่มีในตำราอีกด้วย เนื้อหาในเพลงจะอิงประวัติศาสตร์ที่ชัดเจน โดยเล่าผ่านSutter’s Millหรือโรงเลื่อยไม้ของจอห์น ซัตเตอร์ แล้วไปเจอแร่ทองคำที่โรงเลื่อยของตนเอง จากนั้นเลยเอาแร่ทองคำไปในเมือง ทำให้ผู้คนต่างพากันแตกตื่นแล้ว “ความโลภบังตา” ก็เลยหลั่งไหลเข้ามาที่โรงเลื่อยของจอห์นนี่แหล่ะ ด้วยความโลภของคนมันน่ากลัว จอห์นเลยเอาทองคำไปทิ้งที่ลำธาร เพราะไม่ชอบความวุ่นวายแบบนี้เลย เพลงยุค 90

แล้วเพลง Sutter’s Mill ก็มีอิงประวัติศาสตร์อเมริกาตรงที่การอพยพของคนผิวขาว

เพื่อแสวงหาที่ใหม่ทรัพยากรใหม่ๆ และต้องการกอบโกยทุกอย่างนอกจากทองคำเพื่อที่จะมีชีวิตใหม่ แต่ใช่ว่าจะโชคดีทุกคน ในเนื้อเพลงแม้จะสนุกตามจังหวะกีตาร์ แต่ทำให้รู้ว่าความโลภนอกจากจะนำความวุ่นวาย เหมือนเติมน้ำแล้วไม่เคยพอสักหยดเดียว แต่ความโลภมันก็ฆ่ากันเองได้เหมือนกันเพื่อแก่งแย่งชิง นี่เป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาในเพลง จนในที่สุดแม้จอห์นจะตายตามอายุขัย ก็ไม่สามารถเอาอะไรไปได้สักเพนนีเดียว นั่นแปลว่า “ตายไปก็เอาอะไรไม่ได้” อันนี้คงจะจริงเลยทีเดียว นอกจกนี้ยังสะท้อนเรื่องการถูกไล่ล่าโดยอินเดียนแดงเพื่อปกป้องถิ่นฐานจากการรุกรานอีกด้วย

Sutter’s Mill

               จะว่าไปเพลงนี้นอกจากจะอิงประวัติศาสตร์อเมริกาเข้ามาแล้วนั้น ยังคงมีความอิงจากหลักคำสอนของพระพุทธองค์มากกว่าที่คิด ซึ่งทำให้ผู้เขียนนึกถึง “ทางสายกลาง” อะไรที่เกินความพอดี มันก็จะเกิดหายนะมาถึงตัว เหมือนเพลงนี้จริงๆ ที่ต่างคนโลภจนลืมหูลืมตา และเสียดสีสังคมอเมริกันได้ทุกยุคสมัยเลยทีเดียว